1. ) อ.ชโลม เกตุจินดาคือใคร ?
เดิมที เป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์สอนเภสัชอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตอนนี้ไม่ใช่
2.) ทำไมถึงมีเครือข่ายผู้บริโภคสงขลาได้
ตอนนั้นมีความสนใจร่วมกันกับพวกอาจารย์เรื่องการอยากสร้างอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคโชคดีได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะ
กรรมการอาหารและยา มาทำงานเรื่องนี้รวมถึงทำงานเรื่องการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค ตอนนั้นเราเลยได้ร่วมมือกับมูลนิธิเอยเครือข่าย
เกษตรกรรมทางเลือกเอยทำเรื่องนี้กันมาจนวันนี้รวมกันเพื่อเป็นสมาคมผู้บริดโภคสงขลา ทำงานกันมาตั้งแต่ปี 2543
3.) สมาคมนี้ทำหน้าที่อะไร ?
ตัวสมาคมชัดเจนว่าอยากทำให้ผู้บริโภคเท่าทันปัญหาของผู้บริโภค และเฝ้าระวังปัญหาของผู้บริโภคในพื้นที่ รวมทั้งอีกเรื่อง คือการ
ประสานการทำงานกับหน่วยคุ้มครองผู้บริโภคที่อยู่ในกลไก เพราะหน่วยงานรัฐเขาแยกหน่วยกันทำงานตามผลิตภัณฑ์สินค้า เราจะ
คอยรับเรื่องราวร้องเรียนเพื่อประสานไปยังช่องทางแก้ไขให้คนเข้าถึงช่องทางที่จัดการได้
4.) บทเรียนดี ๆ กับกรณีที่ประสบความสำเร็จคือ ?
เมื่อก่อนเรื่องตู้น้ำหยอดเหรียญพบว่าไม่มีใครดูแลเราตามกันสามสี่ปี ตั้งแต่ไม่รู้จะหาใครมาดูแล มาควบคุมมาตรฐาน หน่วยงานนู้น
ดูแค่นี้ หน่วยงานนี้ดูแค่นั้น กับไอ้ตู้น้ำตู้เดียวมีหน่วยงานบานเบอะดูแล แต่ตอนนี้จึงได้เทศบาลมาดูแลควบคุมความสะอาดของน้ำ
และของตู้จำหน่ายแรก ๆ โคตรจะท้อเลยน้อง พอมันมีคนดูแลก็ดีใจเพราะไอ้คนกินน้ำพวกนี้ลูกหลานเราทั้งนั้น
5.) แนวโน้มเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคในอนาคตเป็นยังไงบ้าง ?
ทิศทางการเป็นผู้เสียหาย ผู้ได้รับผลกระทบจากการบริโภคในสมัยนี้มีเพิ่มขึ้น แต่จะมีแค่ 1 ใน 10 ที่สนใจจะนำเอาประเด็นของตัว
ออกมาขับเคลื่อนเชิงสาธารณะ ดังนั้นเราทุกคนที่เป็นผู้บริโภค ควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในระดับที่มากกว่าเรื่องตัวเองการรวม
กลุ่มกันจะช่วยเป็นพลัง คนหนึ่งคนทำดีได้แต่คนมากกว่าหนึ่งคนรวมกันทำดีมีพลังมากกว่า
6.) ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่ภาคประชาสังคมควรทำในอนาคตคืออะไร ?
การทำงานปัจจุบันเน้นการแก้ปัญหารายกรณี แต่สิ่งที่ภาคประชาสังคมควรทำ ไม่ใช่แค่งานสงเคราะห์ งานคลี่คลายปัญหารายกรณี
อย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ควรนำพาการทำงานไปสู่การเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมทั้งกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อน
ผู้ได้รับผลกระทบ หรือตัวคู่กรณีขัดเเย้งไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามแต่ เราต้องเริ่มเชื่อและทำงานเรื่องพัฒนานโยบายด้วย
7.) ส่วนของงานสมาคมผู้บริโภคเองล่ะ ?
เราอยากให้ผู้บริโภคเข้าใจเรื่อง money valueted
8.) แค่นี้?
ในอนาคตการบริโภคคือการยกระดับความเป็นผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตัวสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่ไม่เอาเปรียบ
เเรงงาน ไม่เอาเปรียบสิ่งแวดล้อม หรือมีนโยบายด้านตอบแทนสังคม ดังนั้นการทำงานกับผู้บริโภค ก็คือการพัฒนาให้คนรวมกัน
เป็นภาคประชาสังคมในการทำความดีเพื่อสังคมด้วยเช่นกัน
9.) แล้วถ้าประเทศไทยมีกองทุนภาคประชาสังคม ช่วยสนับสนุนการทำงานคิดว่ารูปแบบการจัดการมันควรเป็นแบบไหน ?
ถ้าหากมีกองทุนภาคประชาสังคมจริง การบริหารจัดการก็คงต้องไม่ใช่แค่กองทุนที่รอคนมาขอ เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างเดียว
ประเด็นนี้ สมาคมผู้บริโภคสงขลาเองก็คิดกันมานาน ที่ผ่านมาเคยมีวิธีคิดเรื่องสวัสดิการคนทำงานพัฒนา หรือกลุ่มออมทรัพย์กู้ยืม
เพื่อพัฒนาแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ถ้าเป็นกองทุนก็จะมีวันหมดไป หรือมีวันหดหายไม่ยั่งยืน การจัดการแบบระบบ social enterpise เอง
ก็น่าสนใจเพราะถ้าการทำงานพัฒนาสังคมมีรูปธรรมของกำไรแล้วนำกลับมาคืนกองทุน มันก็จะก่อให้เกิดการส่งต่อการทำความดี
แน่นอนหนี้เสียย่อมมีเหมือน กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ดอกผลของมันอาจไม่ได้เห็นในเร็ววัน แต่ก็ไม่ใช่ติดอยู่กับภาพฝันแล้วรอวัน
ล้มครืนของกองทุนพวกเราคงไม่อยากได้แบบนั้น รวมทั้งในอนาคตอาจมีกองทุนออมที่เป็นรูปธรรมของกลุ่มนักพัฒนา เพราะว่ากอง
ทุนภาคประชาสังคมนอกจากคิดเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาแล้ว ก็ควรเป็นแบบอย่างวิธีคิดของการออมด้วย
10.) ทำไมต้องคำนึงถึงอะไรแบบนี้ ?
ถ้าคนรุ่นใหม่ไม่เห็นช่องทางความมั่นคงจากการทำความดี ก็จะไม่มีภาคประชาสังคมใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นกองทุนที่กำลังจะเกิด
ต้องคำนึงถึงการสร้างวินัยการออมของคนทำงานภาคประชาสังคมเองด้วย