การขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนภาคประชาสังคม ซึ่งริเริ่มโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคีเครือข่ายองค์กร ภาคประชาสังคม ต่างก็มียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนโดยมี
เป้าหมายร่วมกันคือการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคม จากการที่แต่ละภาคส่วนได้มีการขับเคลื่อนกฎหมายเพื่อการหนุนเสริมภาค
ประชาสังคมเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนมีชุดความรู้ในลักษณะงานวิจัย การร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมภาคประชาสังคม และนำไปสู่การแต่งตั้ง
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (ศสป.) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคม และกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วยกระทรวงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมประชา
สังคมเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์เป็นรองประธานกรรมการ โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นสำนักงานเลขานุการ
คณะกรรมการฯ
จากการศึกษาของไพศาล ลิ้มสถิตย์ (2559) พบว่า นับตั้งแต่มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ฯ ปี 2551 ดังกล่าว มีการประชุม
คณะกรรมการตามระเบียบ 2-3 ครั้ง และไม่เคยมีการประชุมหรือมีการดำเนินงานตามระเบียบฯ อีกเลย เนื่องจากรัฐบาลในชุด
ถัดมาและผู้บริหารกระทรวง พม. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
ต่อมาในช่วงปี 2553 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะฝ่ายเลขานุการ จัดประชุม
เชิงปฏิบัติการเพื่อทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมประชาสังคมเพื่อพัฒนาสังคมไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553 - 2555) และ
ต่อมากระทรวง พม. ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริม ประชาสังคมเพื่อการพัฒนาสังคมไทย (พ.ศ. 2556-2559) แต่ร่างทั้ง
2 ฉบับยังไม่เคยผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกฯ
2.การขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคม
มติสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ จุดเริ่มของการขับเคลื่อนโดยภาคประชาสังคม กล่าวคือภาคีเครือข่ายคนพิการได้เป็น
แกนนำหลักขับเคลื่อนมติสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 1 มติที่ 6 เรื่อง การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข
ร่วมกัน” (มีนาคม พ.ศ. 2554) ซึ่งมีสาระสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ การส่งเสริม
ความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล การสร้างความมั่นคงทางด้านการคลังเพื่อการพัฒนาสังคม
อย่างต่อเนื่อง และการสร้างพลังจิตอาสา โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการให้แล้วแล้วเสร็จ คือ การศึกษาและข้อเสนอแนะ
ต่อรูปแบบการบริหารกองทุนที่เหมาะสม และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารกองทุนทั้ง 5 ประกอบ
ด้วย กองทุนเด็กเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และสวัสดิการสังคม โดยเป็นกองทุนเดิมที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 4 กองทุน ได้แก่กองทุนคุ้มครองเด็ก กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม และกองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้น คือ กองทุนพัฒนาสตรี ทั้งนี้เพื่อ
สนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มต่างๆ
การพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมมีการระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเป็นกฎหมายเพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและ
พัฒนาภาคประชาสังคม มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อวางนโยบาย มีศูนย์ประสานงานในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร
ภาคประชาสังคม รวมทั้งมีงานวิชาการรองรับความจำเป็นที่จะต้องมีและแนวทางการดำเนินงานกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
สร้างความเป็นธรรมในสังคม