กองทุนภาคประชาสังคม

กองทุนที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพคนทำงาน ระบบงานในองค์กรพัฒนาเอกชน

ความสำคัญและการขับเคลื่อน

เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคม

ตอนที่ 7 : Social Welfare Development Fund (SWDF)

: กองทุนที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพคนทำงาน ระบบงานในองค์กรพัฒนาเอกชน

 

 

ประสบการณ์ของกองทุน Social Welfare Development Fund หรือ SWDF ในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง มีบทเรียนรู้สำคัญ 2 ประการ

ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบริบทของสังคมไทย ประการแรก คือ กองทุน SWDF มีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรมีศักยภาพในการพัฒนา

ยิ่งขึ้น กองทุนนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรบุคลากร ระบบงาน ประการที่สอง กองทุน SWDF สังกัดหน่วยงานภาครัฐ และองค์กร

พัฒนาเอกชนที่จะมาขอรับการสนับสนุนต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบกองทุน แต่เมื่อกองทุนได้มีการศึกษาวิจัยและ

พบว่าการบริหารกองทุนที่ยึดระเบียบราชการเช่นเดียวกับการปฏิบัติงานราชการทั่วไป ทำให้การดำเนินการเพื่อการพัฒนาสังคมขาดความ

คล่องตัว และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนจึงได้ปรับรูปแบบกองทุนเป็นแบบเหมาจ่าย โดยประเมิน

ผลการดำเนินงานจากผลผลิต และนวัตกรรมที่ได้รับจากการดำเนินงาน

 

Social Welfare Development Fund (SWDF)

          SWDF เป็นกองทุนในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง อยู่ในการดูแลของหน่วยงานภาครัฐ และเป็นกองทุนให้การสนับสนุน

องค์กรพัฒนาเอกชนที่จดทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ Social Welfare Department Department of Health และ

Education Bureau มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

 

1.1) เป้าหมายเพื่อให้องค์กรมีศักยภาพในการพัฒนายิ่งขึ้น กองทุนนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรบุคลากร ระบบงาน

ประเด็นที่น่าสนใจของกองทุนกล่าวคือมีบริบทใกล้เคียงกับกองทุนด้านการพัฒนาสังคมของไทยที่อยู่ในสังกัดของหน่วยงานภาครัฐ

นอกจากนี้มีผลศึกษาวิจัย พบว่า

  1. การบริหารจัดการรวมถึงระบบงบประมาณแบบราชการขาดความยืดหยุ่น และระบบการเบิกจ่ายเงินไม่สอดคล้องกับกิจกรรมที่

           องค์กรพัฒนาเอกชนดำเนินการ และสถานการณ์ทางสังคมที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

       2. การประเมินผลโครงการที่มุ่งตอบตัวชี้วัดที่งบประมาณแต่ละองค์การพัฒนาเอกชนเสนอเข้ามา คือประเมินแบบ input control

          เป็นการยากที่องค์กรจะสามารถพัฒนานวัตกรรมทางสังคม  และผลการดำเนินงานมีลักษณะตายตัว และเป็นการรายงานตาม

          แบบแผนที่กำหนดไว้

       3.มีความยืดหยุ่นน้อยในการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ 

 

จากปัญหาหรือข้อจำกัดทั้ง 3 ประการ ทำให้ SWDF เปลี่ยนรูปแบบของกองทุนเป็นแบบ เหมาจ่าย (LSG) และเป็นการประเมินที่ output

ของกิจกรรมแทน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนกองทุนเป็นแบบเหมาจ่าย องค์การพัฒนาเอกชนมีการแข่งขันในการจัดบริการด้าน

สวัสดิการสังคม รวมทั้งมีการปรับปรุงบริการของตนเองมากขึ้น นอกจากนี้องค์กรพัฒนาเอกชนยังมีความระมัดระวังเรื่องการใช้งบประมาณ

มากยิ่งขึ้นเพราะการใช้งบประมาณแบบเหมาจ่ายหากวางแผนไม่รัดกุมจะมีผลต่อความยั่งยืนของกิจกรรมและคุณภาพของบริการ

 

อย่างไรก็ตาม SWDF พบข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเมื่อค่าจ้างพนักงานในองค์กรพัฒนาเอกชนถูกคิดรวมแบบ เหมาจ่าย ทำให้มีอัตราการลาออก

ของเจ้าหน้าที่สูงขึ้น เพราะส่วนหนึ่งรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในการทำงาน

 

1.3) แหล่งที่มาของงบประมาณ

กองทุนได้รับเงินสนับสนุนจากรายได้จากการจำหน่ายลอตเตอรี่ เงินจากกองทุนลอตเตอรี่ (ร้อยละ 15 ของรายได้จากการจำหน่าย

ลอตเตอรี่เข้าสู่กองทุน) โดยกำหนดช่วงเวลาการใช้งบประมาณอย่างชัดเจน คือ แบ่งระยะเวลารวม 9 ปี แต่ละระยะเวลามีการอนุมัติ

งบประมาณ 33% ของงบประมาณทั้งหมด แบ่งออกเป็นระยะเวลา ดังนี้

  • ระยะที่ 1 ปี ค.ศ.2010-2011, 2012-2013
  • ระยะที่ 2 ปี ค.ศ.2013-2-14, 2015-2016
  • ระยะที่ 3 ปี ค.ศ.2016-2017, 2018-2019

 

1.4) การให้ทุนสนับสนุน

 LSG โดย SWD ให้การสนับสนุนทุนโดยตรงกับหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนให้ความสำคัญกับองค์กรที่ขอรับการสนับสนุน โดย

เป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กร โดยกำหนดขอบเขตการให้ทุน ได้แก่ (Social Welfare Development Fund, วันที่ 10

พฤศจิกายน 2557)

  • การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการอำนวยการ ผู้บริหาร พนักงานขององค์กร
  • พัฒนาระบบการดำเนินงาน ทั้งระบบที่ใช้ IT และ Non IT
  • การศึกษาค้นคว้า วิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการขององค์กรสาธารณประโยชน์

 

1.5) ลักษณะของกิจกรรม/โครงการ

    ลักษณะของกิจกรรม/โครงการที่ LSG ให้การสนับสนุน มีรายละเอียดดังนี้

  • การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในระยะยาว เช่น การเรียนต่อในระดับ ป.ตรี หรือการอบรมระยะสั้น เป็นต้น
  • การฝึกอบรมในลักษณะวิชาชีพ
  • การซื้อวัสดุ หนังสือ (กำหนดไว้ไม่เกิน 20,000 เหรียญในแต่ละองค์กร)
  • การพัฒนาระบบการดำเนินงาน เช่น การวิเคราะห์ระบบงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์             

 

บทสรุป

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการสนับสนุนงบประมาณเป็นแบบเหมาจ่าย และรูปแบบการประเมินผลการดำเนินงานทำให้การดำเนิน

กิจกรรมต่างๆ ก่อให้เกิดความยืดหยุ่น และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมมากขึ้น นอกจากนี้การที่กองทุน SWDF

กำหนดขอบเขตงานและกิจกรรม สัดส่วนของงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพ (เช่น การกำหนดให้สัดส่วนการพัฒนาศักยภาพ

ของพนักงานระดับเจ้าหน้าที่มากกว่าผู้บริหาร)  การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร หรือ

กำหนดสัดส่วนของค่าจ้างพนักงานขององค์กร การกำหนดสัดส่วนงบประมาณทำให้องค์กรพัฒนาภาคประชาสังคมเกิดความ

คล่องตัวในการใช้งบประมาณเพื่อการดำเนินงาน อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนการบริหารกองทุนให้เกิดธรรมาภิบาล

 

Tag


powered by CIVIL SOCIETY EMPOWERMENT INSTITUTE