ประชาชนในสังคมตะวันตกให้ความสำคัญกับการบริจาคเงินให้แก่ภาคประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ การมีแหล่งรายได้
จากการดำเนินกิจกรรมของกองทุนย่อมทำให้กองทุนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีอิสระ ทั้งนี้ กองทุนฯ จำเป็นต้องมีช่องทางการ
บริจาคที่หลากหลาย และสามารถเข้าถึงได้ง่าย กองทุน Age UK เป็นกองทุนหนึ่งที่มีแหล่งที่มาของรายได้มาจากการบริจาคโดย
ภาคประชาชน และการดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ วิธีการระดมเงินบริจาคจากเงินเดือน มีมาตรการจูงใจทางภาษีสำหรับผู้บริจาค
ความน่าสนใจ คือ ภาครัฐให้ความสำคัญกับการระดมเงินของกองทุนลักษณะนี้ รัฐบาลจึงมีมาตรการจูงใจทางภาษีสำหรับ
ผู้บริจาคเงินเข้ากองทุน ซึ่งมีหลายช่องทางทั้งผ่านเว็บไซต์ โทรศัพท์ และไปรษณีย์ การหักจากเงินเดือน นอกจากนี้ในการ
บริจาคผู้บริจาคยังสามารถเลือกกิจกรรมที่ตนเองต้องการได้การสนับสนุน สำหรับรายละเอียด การบริจาค และเลือกกิจกรรม
มีดังต่อไปนี้
จะกำหนดช่องให้เลือกบริจาคเป็น 15 ปอนด์ 35 ปอนด์ 100 ปอนด์ และอื่นๆ ให้ผู้บริจาคกำหนดจำนวนเงิน
ด้วยตนเอง รวมทั้งเว็บไซต์จะกำหนดความสะดวกให้ผู้บริจาคเลือกการบริจาคเป็นครั้งเดียวหรือบริจาครายเดือน
2. บริจาคผ่านทางโทรศัพท์และไปรษณีย์ สำหรับการผ่านทางโทรศัพท์นั้น ผู้บริจาคจะจ่ายเงินผ่านทาง credit or
debit card ส่วนการบริจาคทางไปรษณีย์นั้น ผู้บริจาคจะต้องดาวน์โหลดแบบฟอร์มการบริจาคจากทางเว็บไซต์
และทำการบริจาคผ่านทางไปรษณีย์ หรือวิธีการที่ง่ายกว่านั้น คือ การส่งเช็คหรือตั๋วแลกเงินไปยังลูกค้าสัมพันธ์
ของ Age UK จากนั้น ผู้บริจาคต้องเช็คกับทางองค์กรว่าเงินบริจาคส่งถึงหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง
3. บริจาคโดยหักจากเงินเดือน โดยช่องทางการหักภาษีรายได้ต่อเดือน โดยในกรณีนี้ผู้บริจาคสามารถบริจาคเงิน
ให้กับ Age UK ได้ก่อนที่จะถูกหักเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือบริจาคผ่านทางบำนาญได้
3.1) Basic rate tax payers กรณีนี้คือ บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ต่อเดือนไม่สูงมาก ทุกๆ 1 ปอนด์ที่
หาได้ต่อเดือน จะต้องถูกหักภาษีไป 20 เพนนี หากบุคคลบริจาคเงินให้กับ Age UK 10 ปอนด์ต่อเดือน
องค์กรจะได้รับเงินนี้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และ 10 ปอนด์ที่บริจาคนี้จะถูกนับเป็น 8 ปอนด์ของค่า
ใช้จ่ายสุทธิของผู้บริจาค
3.2 ) Higher rate tax payers กรณีที่ผู้บริจาคเป็นคนที่เสียภาษีในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 40 ทุก 10 ปอนด์ที่
บริจาคจะถูกนับเป็น 6 ปอนด์ของรายจ่ายสุทธิ และสำหรับผู้ที่เสียภาษีในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 50 ทุก
10 ปอนด์ที่บริจาคจะถูกนับเป็น 5 ปอนด์ของรายจ่ายสุทธิ
คำถาม คือ แนวทางการบริจาคเข้ากองทุนด้านการพัฒนาสังคม ดังเช่นในประเทศสหราชอาณาจักรจะนำมาใช้กับประเทศไทยได้หรือไม่
นอกจากการขับเคลื่อนกลไกด้านกฎหมายแล้ว ในที่นี้จะกล่าวถึง การบริจาคในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต กล่าวคือ เงินบริจาคแบบให้เปล่าใน
ประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี ตามข้อมูลของ TRN อ้างอิงจาก พิธุวรรณ ปรมาพจน์ กล่าวว่า การเก็บข้อมูลเงินบริจาคแก่สาธารณกุศล
ทั้งหมดในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ดังนั้น จึงใช้ข้อมูลผ่านกรมสรรพากร โดยศึกษาสถานการณ์การบริจาคเงินของบุคคลธรรมดา
ตั้งแต่ปี 2544 – 2547 จากข้อมูลสถิติการหักลดหย่อนภาษีเงินบริจาค พบว่า การบริจาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนเงินบริจาครวม เงิน
บริจาคต่อคน และจำนวนผู้มีเงินได้ที่บริจาค กล่าวคือ จำนวนเงินบริจาครวมเพิ่มขึ้นจาก 2,513 ล้านบาท ในปี 2544 เป็น 3,393 ล้านบาท
ในปี 2547 ส่วนเงินบริจาคต่อคนเพิ่มจาก 10,358 บาท ในปี 2544 เป็น 11,518 บาท ในปี 2547 รวมทั้ง จำนวนผู้มีเงินได้ที่บริจาคเพิ่ม
จาก 242,363 คน ในปี 2544 เป็น 294,647 คน ในปี 2547
นอกจากนี้ในรายงานข้างต้นได้วิเคราะห์ให้เห็นว่ากลุ่มคนที่บริจาคเงินมากที่สุดในสังคมไทย คือ ชนชั้นกลางซึ่งมองการบริจาคเป็นส่วน
หนึ่งของการดำเนินชีวิต (lifestyle) อย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้มองเป็นเรื่องของ การกุศล โดยเฉพาะการบริจาคที่มีกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เช่น
การขายสินค้าร่วมอยู่ด้วย (การทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าในขณะที่ซื้อสินค้าตนเองมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต) ซึ่งกรณีของ Age UK
เป็นการนำเสนอองค์กรผ่านธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การประกันภัย กิจกรรมการขายสินค้า กิจกรรมเชิงพาณิชย์ ด้านหนึ่ง กลุ่มเป้าหมาย
ของ Age UK กับกลุ่มเปราะบาง แต่กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการนำเสนอภาพองค์กรในฐานะ
ผู้กระทำการทางสังคม
จากประสบการณ์ของ Age UK และข้อมูลกลุ่มคนที่บริจาคของสังคมไทยมีข้อท้าทายประการหนึ่งสำหรับองค์กรพัฒนาภาคประชาสังคม
คือ องค์กรพัฒนาภาคประชาสังคมอาจต้องเริ่มปรับภาพลักษณ์ขององค์กรที่ทำงานกับกลุ่มเปราะบาง จากองค์กรการกุศลเป็นองค์กร
ธุรกิจเพื่อสังคมมากขึ้น ประสบการณ์จาก Age UK ทำให้เกิดการเรียนรู้อีกประการหนึ่งที่ว่า องค์กรคือผู้สร้างภาพลักษณ์หรือคุณค่าให้กับ
กลุ่มเป้าหมายขององค์กร ดังนั้น เมื่อการบริจาคได้ส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ภาพลักษณ์ขององค์กรที่จะนำเสนอภารกิจหรือ
กลุ่มเป้าหมายจึงควรเป็นภาพที่คนในสังคมรู้สึกว่า สินค้าหรือบริการที่ซื้อไปนั้นเป็นสินค้าที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มเป้าหมาย
หรือภารกิจที่องค์กรนำเสนอนั้น ควรเป็นภารกิจที่คนในสังคมรู้สึกว่าเป็นประเด็นที่ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หรือความรู้เฉพาะด้าน
จากผู้เชี่ยวชาญ แต่เป็นประเด็นที่สร้างสำนึกให้กับคนในสังคมตระหนักว่าหากมีส่วนร่วมในการพัฒนา เช่นในรูปแบบบริจาค จะทำให้ชีวิต
ประจำวันของตนดีขึ้นได้อย่างไร