“ครูแดง หรือ เตือนใจ ดีเทศน์” ได้ทุ่มเทชีวิต ให้แก่งานพัฒนาชนบทและคนชายขอบมายาวนาน โดยเฉพาะปัญหาของคนชายขอบที่ยังไม่มีสัญชาติไทย ย้อนไปในอดีต ครูแดงเดินทางขึ้นดอยมาเป็น"ครูดอย"อยู่กับชาวเขาบนพื้นที่สูงที่บ้านป่างสา ลืมอนาคตที่จะใช้ปริญญารัฐศาสตร์บัณฑิตสำหรับความเจริญแก่ตัวเองและครอบครัว พอใจที่จะอาศัยอยู่บนดอยในบ้านน้อยที่ชาวบ้านสร้างให้ กินอยู่อย่างตามมีตามเกิดกับชาวบ้านผู้ยากไร้ มีความฝันถึงความเจริญของพื้นที่สูงที่พี่น้องชาวเขาอาศัยอยู่
ครูแดงเล่าให้ฟังว่า “จุดเริ่มต้นเกิดจากการเป็นอาสาสมัครและมีโอกาสไปออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท ค่ายอาสาพัฒนาชาวเขา พอเรียนจบมหาวิทยาลัย เพื่อนๆ หลายคนวางแผนการทำงานและการเรียนต่ออย่างสวยหรู แต่ครูแดงกลับเลือกที่จะไปเรียนประกาศนียบัตรชั้นสูง บัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ซึ่งสาขานี้มีเส้นทางการเดินทางไปสู่นำการนำมาชีวิตของครูแดงเข้าสู่วิถีชีวิตที่อุทิศให้แก่สังคม เป็นครูดอยที่หมู่บ้านปางสา ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความทรงจำเมื่อสมัยมาออกค่ายอาสา เพราะมีคำพูดของชาวบ้านที่บอกกลับครูแดงเมื่อสมัยที่ค่ายไปออกค่ายบอกกับครูแดงว่า “กลับมาอีก มาช่วยสอนลูกสอนหลาน” เหตุผลที่ครูแดงบอกลากรอบชีวิตเดิมๆ ที่ทำให้ครูแดงรู้สึกว่าตัวเล็กเหลือเกิน ในเมืองกรุง กลับไปตามหาความสุข ความสุขได้อยู่กับธรรมชาติ “ถ้าเราอยู่กรุงเทพ เราเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของกลไกใหญ่ ไม่ได้สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับชีวิตสักเท่าไหร่ จึงมุ่งหน้าเข้าสู่ชนบทที่ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีถนน มีเพียงธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชนที่พึ่งพาอาศัยกัน”
ปัญหาการทำงาน คือ ทรัพยากร ซึ่งหมายถึงงบประมาณที่เป็นเพียงกลไกหนึ่งของการทำงาน ครูแดงเล่าถึง “สมัยก่อนก็ไม่ได้ลำบากมากนัก เพราะมีแหล่งทุนจากต่างประเทศเข้ามาสนับสนุน แต่เมื่อทำงานไปสักพักแหล่งทุนเหล่านั้นก็หันไปสนับสนุนประเทศอื่นๆ และให้ความสำคัญกับเอกสารการเงินมากกว่าการไว้เนื้อเชื้อใจกัน ไปทุ่มเทให้กับงานกระดาษ ทำให้คนทำงานขาดโอกาสการพัฒนาจึงเป็นที่มาของการขาดแคลนคนรุ่นใหม่ที่มาทำงานด้านสังคม เนื่องจากเวลาทำงานส่วนใหญ่อยู่กับการรายงานผล การประเมินโครงการและงานเอกสารต่างๆ ในขณะทีมีรายได้แค่เพียงพอต่อการยังชีพเท่านั้น
ครูแดงได้บอกกับรุ่นน้องเสมอว่า “การทำงานต้องอาศัยกำลังใจ เพราะการทำงานด้านสังคมยากมาก”
การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เพียงการทำงานเพียงปีสองปีแล้วจะเห็นผล การสนับทุนของแหล่งจะให้เพียงระยะสั้น มันไม่ตอบโจทย์ของปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นมาใหม่ๆทุกวัน มีให้แก้ไขทุกวัน แต่ทรัพยากรจำกัด เราทำอะไรไม่ได้มากนัก แต่สิ่งที่ประทับใจ คือ ภาคประชาชนออกมาต่อสู้กับปัญหา แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความเข้มแข็งมีการศึกษาข้อมูลหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อมาแก้ไขปัญหาได้ทัน
ด้วยความยึดมั่นที่ของคำสอนพระสังฆราชที่สอนว่า “ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สำคัญนัก ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทำความดีให้มีความสุขหรือทำความชั่วให้ชีวิตเราทุกข์”
สิ่งที่อยากเห็นในการพัฒนาสังคมในประเทศไทย คือ การมีส่วนร่วม การตระหนักในคุณธรรมจริยธรรมที่คนสมัยนี้กลับมองเป็นเรื่องล้าสมัย ยึดเพียงความถูกต้องให้แง่กฎหมายถ้าชีวิตปราศจากศีลธรรมแล้ว จะเข้าสู่คำพระสอนที่ว่า ถ้าศีลธรรมไม่มา โลกาจะวินาศ ซึ่งหากมนุษย์อยู่ในธรรม ถึงจะนำพาครอบครัว และสังคมไปรอด มีความเป็นธรรมสามารถลดช่องว่างของคนรวย คนจน ลดการเอาเปรียบของคนในสังคม
“กองทุนพัฒนาสังคม กับความคาดหวังของคนทำงานที่จะต่อลมหายใจที่จะทำให้งานสำเร็จไปได้ ขอเพียงให้คุณค่าของคนทำงานภาคประชาสังคม มีความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับคนทำงานและผลงานเชิงประจักษ์ มากกว่าชื่นชมเอกสารที่วางไว้บนหิ้ง การทำงานต้องเกิดการมีส่วนร่วม และสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง อย่าให้เป็นกองทุนที่มีเพียงกระบวนการจัดการทางเงิน เน้นเอกสาร ก็จะเป็นกองทุนที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่ได้มีการพัฒนาคนทำงานของภาคประชาสังคม เน้นกระบวนการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ปราศจากฐานเสียงของนักการเมือง”
คัดข้อมูลบางส่วนจาก : http://www.l3nr.org/posts/154023